MRTA ดำเนินการขุดลอกท่อระบายน้ำ บริเวณ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เพื่อเสริมประสิทธิภาพการระบายน้ำบนถนนรามคำแหง (8 ก.พ. 2565) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม./MRTA) กระทรวงคมนาคม ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ติดตามและกำชับให้ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาทุกสัญญาดำเนินการลอกท่อระบายน้ำตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ บนถนนรามคำแหงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้ดีมากยิ่งขึ้น
โดย กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาสัญญาที่ 2
ช่วงรามคำแหง 12 – หัวหมาก ได้ดำเนินการลอกท่อระบายน้ำบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีรามคำแหง 12 สถานีรามคำแหง สถานี กกท. และสถานีรามคำแหง 34 และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาสัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า ได้ดำเนินการลอกท่อระบายน้ำบริเวณสถานีแยกลำสาลีและสถานีคลองบ้านม้า เพื่อป้องกันเศษวัสดุอุดตันในแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า บนถนนรามคำแหง
ทั้งนี้ รฟม. ได้เน้นย้ำให้ที่ปรึกษาโครงการ กำกับดูแลให้ผู้รับจ้าง ลอกท่อระบายน้ำตามแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า อย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3 เดือน เพื่อเตรียมพร้อมหากกรณีเกิดฝนตกในพื้นที่ พร้อมจัดเตรียมเจ้าหน้าที่และเครื่องสูบน้ำ เพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ตามนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการให้ความสำคัญแก่ประชาชนและชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เปิดให้ผู้ปกครองสามารถ จองวัคซีนไฟเซอร์เด็ก 9-11 ปี เข็มแรกได้แล้วตั้งแต่วันนี้ และจะเริ่มฉีด 14-28 ก.พ. ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์ ว่าทางศูนย์ฉีดวัคซีนกลางได้อนุญาตให้ผู้ปกครองสามารถจองฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มแรก สำหรับเด็กที่มีอายุ 9-11 ปี หรือ เกิดตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2553 – 31 ธันวาคม 2556 ได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. เป็นต้นไป
โดยจะเริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 14-28 กุมภาพันธ์ 2565 และเข้ารับบริการได้ที่ประตู 1 ทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. โดยเด็กที่เข้ารับจองไฟเซอร์นั้น ต้องเป็นเด็กที่ศึกษานอกระบบโรงเรียน หรือนักเรียนที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนจากจุดฉีดใดๆ มาก่อน และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองในวันที่รับวัคซีน
ทั้งนี้ เด็กที่เกิดในปี 2557 เป็นต้นไป ทางศูนย์ยังไม่เปิดรับจองคิวในครั้งนี้ แต่จะมีการทยอยเปิดรับจองคิวอีกครั้งตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข
‘จ่าพิชิต’ เตือน ห้าม ขันชะเนาะ หากถูก งูกัด
จ่าพิชิต หรือเพจ Drama Addict โพสต์เตือนห้ามไม่ให้ประชาชน ขันชะเนาะ ผู้ที่ถูก งูกัด ชี้อาจทำให้พิษเข้ากระแสเลือดหนักกว่าเดิม จากกรณีที่มีเด็กชายวัย 2 ขวบ ถูกงูกัด จนโคม่า ซึ่งแม้ว่าเด็กชายคนดังกล่าวอาการจะดีขึ้นแล้ว เพจ Drama Addict ได้ออกมาให้ความรู้ว่าหากงูกัดไม่ให้ขันชะเนาะแล้ว
โดยทางเพจระบุว่า “จากประเด็นข่าวถูกงูกัด เห็นว่าน้องเขาอาการดีขึ้นแล้ว ยินดีกับพ่อแม่ด้วยครับ แต่เรื่องคำแนะนำการปฐมพยาบาล ฝากสื่อที่ลงข่าวนี้ แก้ไขข้อมูลหน่อย คือปัจจุบัน ถ้าถูกงูกัด เราไม่แนะนำการขันเชนาะแล้ว เพราะ
1. การขันเชนาะ ไม่ป้องกันพิษเข้าสู่กระแสเลือด และอาจทำให้เข้ากระแสเลือดหนักกว่าเดิมอีก
2. การขันเชนาะ ทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือด ซึ่งอาจทำให้เนื้อตายหนักกว่าเดิมอีก
ดังนั้นปัจจุบัน เราจะแนะนำให้คนที่ถูกงูกัด อยู่นิ่งๆ เอาอะไรมาดามจุดที่ถูกกัดไว้ เหมือนดามคนที่แขนขาหัก แล้วรีบหามไป รพ ให้ไวที่สุดน่ะครับ ไม่ต้องเอาสมุนไพรไปโปะ ไม่ต้องเอามีดไปกรีดเอาเลือดออก และไม่ต้องเอาปากไปดูดพิษออกใดๆทั้งสิ้น วิธีที่ว่ามาทำให้อาการหนักขึ้นทั้งหมดเลย”
อนุทิน เผย สธ. เตรียมเสนอปลด โควิด จาก ผู้ป่วยฉุกเฉิน สามารถรักษาฟรีได้ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพของแต่ละบุคคล
นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ในวันนี้ (11 ก.พ.) กระทรวงสาธารณสุข เตรียมเสนอที่ประชุม ศบค. ยกเลิกการกำหนดให้ผู้ป่วยโรคโควิด-19 เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน และกำหนดค่าตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)
จะจ่ายชดเชยให้สถานพยาบาล หากใช้วิธี RT-PCR จะอยู่ที่ 900 บาท และ1,100 บาท ขึ้นกับวิธีการตรวจ ส่วนการตรวจด้วย ATK อยู่ที่ 250- 350 บาทขึ้นกับเทคนิคของชุดตรวจ นอกจากนี้ยังจะปรับอัตราการกรณีรักษาตัวที่บ้าน Home Isolation ให้อยู่ที่ 1,000 บาทต่อวัน ทั้งหมดจะมีผลในวันที่ 1 มี.ค. 2565
นายอนุทิน กล่าวว่า ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 สามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรีตามสิทธิหลักประกันสุขภาพของแต่ละบุคคล ทั้งบัตรทอง ประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการให้เป็นการเข้าระบบรักษาพยาบาลปกติเหมือนโรคอื่น
อย่างไรก็ตาม จากการสืบค้นข้อมูลการวิจัยคุณภาพอากาศในห้องโดยสารรถยนต์พบสารเบนซีนในระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิและความกว้างของห้องโดยสาร รวมถึงอายุการใช้งานของรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ข้อมูลที่สามารถสรุปได้ว่าความร้อนจากแสงแดดทำให้อุปกรณ์ในรถปล่อยสารเบนซีนออกมาในระดับที่ทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย